โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ

โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่พบได้บ่อย มีลักษณะการเจ็บป่วยแบบเรื้อรัง มักมีอาการเป็นช่วงๆและกลับมาเป็นซ้ำได้

รคภูมิแพ้เป็นโรคที่เกิดจากร่างกายของเราที่มีปฏิกิริยาตอบโต้ต่อสารก่อภูมิแพ้ต่างๆ ไวเกิน ทำให้มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารที่พบได้ทั่วไปในชีวิตประจำวัน

โรคต่อมลูกหมากโต เป็นภาวะต่อมลูกหมากโต เป็นภาวะที่เกิดขึ้นทั่วไปกับผู้ชายที่มีอายุมากขึ้น อาจทําให้เกิดอาการปัสสาวะติดขัด

แผลในกระเพาะอาหาร อาการปวดท้อง คืออาการที่เกิดขึ้นได้ในทุกคน และคาดว่าทุกคนก็ต้องเคยปวดท้องเช่นกัน

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ เนื่องจากการหักของกระดูกจากการล้ม, การขาดเลือดไปเลี้ยงบริเวณหัวกระดูกสะโพกทำให้เนื้อกระดูกตาย หรือมีการเสื่อมของข้อสะโพกในระดับที่รุนแรง การรักษาอื่น ๆ ไม่ได้ผล จึงต้องรับการผ่าตัดเพื่อใส่ข้อสะโพกเทียม

อาการปวดเข่าเรื้อรัง มีเสียงดังกรอบแกรบในข้อ งอ-เหยียดเข่าได้ไม่สุด มีอาการมากในตอนเช้าหลังตื่นนอน อาการเหล่านี้ บ่งบอกถึงภาวะข้อเข่าเสื่อม

    ในปัจจุบันประเทศไทยพบผู้ป่วยวัณโรคเพิ่มมากขึ้น โดยองค์การอนามัยโลก(WHO)ได้ระบุว่าประเทศไทยติดอันดับที่ 14 ของโลก ที่มีปัญหาวัณโรคสูงสุด

ลมแดด เป็นภาวะฉุกเฉินทางการแพทย์ เกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถจัดการลดอุณหภูมิที่สูงมากให้เป็นปกติได้ ทำให้เกิดอันตรายต่อระบบการทำงานของร่างกายตามมา เมื่อผู้สูงอายุอยู่กลางแดดหรือสถานที่ที่มีอุณหภูมิเป็นเวลานานจะเป็นลมแดดได้ง่าย เนื่องจากปรับตัวตามสภาพอากาศได้ช้ากว่าคนทั่วไป อุณหภูมิที่เหมาะสม คือ 28 องศาเซลเซียส  

โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ในคนอายุมากกว่า 60 ปี  ในปัจจุบันอัมพฤกษ์ อัมพาต เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองเป็นอาการที่คนทั่วไปโดยเฉพาะผู้สูงอายุจะกลัวกันมาก เมื่อมีอาการแขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายแล้วมักจะไม่ค่อยหาย

  โรคกระดูกสะโพกเสื่อมมักพบในกลุ่มคนที่อายุเกิน 50 ปีขึ้นไป  ส่วนมากพบในคนที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ อาการของโรคเกิดจากผิวข้อสะโพกสึกกร่อนและไม่เรียบ ทำให้การเคลื่อนไหวของข้อสะโพกผิดปกติไป นานๆเข้าจะทำให้เกิดอาการปวด และมีการเคลื่อนไหวติดขัด

โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากการตายของเซลล์ในสมองหรือเซลล์ในสมองหยุดทำงาน จึงมีผลทำให้การทำงานของสมองแย่ลงหากสมองเสื่อมตัวมากขึ้นหรือไม่ได้รับการรักษาในช่วง 8-10 ปี จะทำให้การเสื่อมของสมองเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้      

  ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะเป็นโรคกระดูกพรุนและโรคกระดูกบางมากกว่าคนทั่วไป เนื่องจากมีปริมาณแร่ธาตุในกระดูกลดลง ร่วมกับมีความเสื่อมของเนื้อเยื่อที่ประกอบเป็นโครงสร้างในกระดูก ทำให้เนื้อหรือมวลกระดูกมีความหนาแน่นลดลง จึงเปราะและแตกหักได้ง่าย มักพบการหักที่บริเวณกระดูกข้อมือ ข้อสะโพก และกระดูกสันหลัง

อย่ามองว่าการ “สำลัก” เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อยที่มองข้ามได้ เพราะการสำลักเพียงเล็กน้อย แต่ด้วยระบบภูมิคุ้มกันที่เริ่มไม่แข็งแรง การสำลักอาหารก็กลายเป็นปัญหาใหญ่ได้  หรือผู้สูงอายุบางรายสำลักมากๆจนเกิดความกลัวการกลืนอาหารไม่ยอมทานข้าว ทำให้นำไปสู่ปัญหาภาวะขาดสารอาหาร ดังนั้นต้องหมั่นสังเกตการสำลักในผู้สูงอายุ

          โรคลมชัก คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของร่างกาย จนทำให้เกิดอาการชัก โรคลมชักสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่พบมากในผู้สูงอายุเนื่องจากสมองที่เริ่มเสื่อมลง โดยโรคลมชักนั้นไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถช่วยให้อาการสงบและไม่มีอาการชักกำเริบได้ หากผู้ป่วยรับประทานยาอย่างต่อเนื่องตามแพทย์สั่ง

ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดน้อยกว่า 70 มก/ดล. ซึ่งจะมีสัญญาณที่พบบ่อยๆ คือ หัวใจเต้นเร็ว เวียนศีรษะ ปวดศีรษะ ฉุนเฉียวง่าย กังวล สายตาพร่ามัว หิวบ่อย อ่อนเพลีย ตัวสั่น โดยมักจะเกิดอาการกินอาหารน้อยไป หรือไม่ตรงเวลา กินยาลดระดับน้ำตาลในเลือดบางชนิดเกินขนาด หรือฉีดยาอินซูลินมากเกินไป

 ภาวะไขมันในเลือดสูงนั่นเกิดได้จากสาเหตุของ ความผิดปกติทางพันธุกรรม ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด แต่สาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง หรืออาหารที่มีพลังงานมากเกินความต้องการของร่างกายและการดื่มเครื่องดื่มในปริมาณมากเป็นประจำ รวมถึงการไม่ออกกำลังกาย

ปัจจุบันสามารถพบโรคความดันโลหิตสูงได้กับผู้สูงวัยเพราะฉะนั้นเมื่ออายุมากขึ้นความดันก็จะสูงขึ้นเรื่อยๆ โอกาสพบโรคความดันโลหิตสูงในคนสูงอายุก็จะมากกว่าคนที่อายุน้อย รวมไปถึงคนที่มีน้ำหนักตัวเกิน หรืออยู่ในภาวะอ้วนก็จะทำให้แรงต้านทานของเส้นเลือดที่อยู่ในร่างกายสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

โรคหัวใจ คือโรคที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ  แบ่งย่อยได้เป็นหลายกลุ่มโรค เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคกล้ามเนื้อหัวใจ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคลิ้นหัวใจ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด และโรคติดเชื้อบริเวณหัวใจ เป็นต้น

โรคเกาต์ (Gout) คือ โรคข้ออักเสบที่พบในผู้ป่วยที่มีระดับกรดยูริก (uric acid) ในเลือดสูงมาเป็นเวลานาน ซึ่งกรดยูริกที่สูงจะเกิดการตกตะกอนสะสมเป็นผลึกเกลือยูเรตตามเนื้อเยื่อบริเวณต่าง ๆ โดยเฉพาะในข้อและบริเวณรอบข้อ และเมื่อมีปัจจัยบางอย่างมากระตุ้น จะทำให้เกิดอาการข้ออักเสบเฉียบพลันอย่างรุนแรง

 ในปัจจุบันพบว่าผู้สูงอายุมีภาวะซึมเศร้ามากถึง 10-20%  ส่วนใหญ่จะเป็นเพศหญิงมากกว่าเพศชาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อยู่ตัวคนเดียว   ซึ่งภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุเป็นภาวะที่คนในครอบครัวไม่ควรมองข้ามเพราะอาจส่งผลถึงชีวิตได้เนื่องจากผู้มีภาวะซึมเศร้ามักไม่สนใจตนเอง ร่างกายจึงอ่อนแอลง เกิดโรคต่างๆได้ง่าย

ดวงตาเป็นอวัยวะที่ต้องได้รับการดูแล เนื่องจากการมองเห็นสิ่งต่างๆรอบตัวนั้น สามารถป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ด้วยตัวเอง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงหรือความเสื่อมอาจเกิดขึ้นกับส่วนต่างๆของตา

ไต เป็นอวัยวะส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อสุขภาพมากๆ โดยไตมีหน้าที่ในการกำจัดของเสียออกจากร่างกายผ่านทางระบบขับถ่ายทางเดินปัสสาวะ หากเกิดความผิดปกติจากไต หรือไตทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพก็จะส่งผลกระทบต่ออวัยวะต่างๆ และหากไม่ได้รับการดูแลรักษาที่ดี จะเป็นสาเหตุให้เกิดภาวะไตวาย อันตรายแก่ชีวิตได้

โรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายมีน้ำตาลในเลือดมากกว่าปกติ เนื่องจากขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลินส่งผลให้กระบวนการดูดซึมน้ำตาลในเลือด ให้เป็นพลังงานของเซลล์ร่างกายมีความผิดปกติหรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จนเกิดน้ำตาลสะสมในเลือดปริมาณมาก

ภาวะเครียดของผู้สูงอายุ การเข้าวัยผู้สูงอายุเป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงมาก ทั้งในด้านร่างกายและจิตใจ การเปลี่ยนแปลงในด้านสภาพแวดล้อมต่างๆ หรือบุคคลใกล้ชิด ต่างส่งผลต่อภาวะเครียดของผู้สูงอายุทั้งสิ้น

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้