การออกกำลังกายในน้ำ

Last updated: 10 ธ.ค. 2562  |  2947 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การออกกำลังกายในน้ำ

การออกกำลังกายในน้ำ

          การออกกำลังกายในน้ำ หรือ Aquatic exercise หมายถึง การใช้น้ำหรือคุณสมบัติน้ำ มาประยุกต์ในการทำกายภาพบำบัดเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น ความแข็งแรง เพิ่มการเคลื่อนไหวข้อต่อ ความสามารถในการทรงตัว การฝึกเดิน รวมถึงการเพิ่มความทนทานของร่างกาย เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกิดการฟื้นฟูของร่างกายโดยอาศัยน้ำ ในผู้ป่วยที่มีปัญหาเฉพาะ เพื่อให้เกิดการรักษาอย่างเต็มที่ 


ข้อดีของการออกกำลังกายในน้ำ

  1. กระตุ้นให้เกิดการออกกำลังกาย ให้ได้เต็มช่วงการเคลื่อนไหว
  2. เกิดแรงต้านน้อยๆ ในการออกกำลังกายแบบเบื้องต้น
  3. ส่งเสริมการออกกำลังกาย แบบมีการลดน้ำหนัก ในผู้ที่มีปัญหาการลงน้ำหนัก เมื่อออกกำลังกายอยู่บนบก
  4. ส่งเสริมการใช้เทคนิคเฉพาะได้ง่ายขึ้น เมื่ออยู่ในน้ำ โดยเฉพาะ manual technique สามารถออกกำลังกายได้ 3 ระนาบ
  5. ทำให้เกิดการออกกำลังกายของระบบหัวใจและหลอดเลือด
  6. กระตุ้นและส่งเสริมให้เกิดการเลียนแบบการทำงานในชีวิตประจำวัน
  7. ลดความเสี่ยงที่จะเกิดการบาดเจ็บ หรือบาดเจ็บซ้ำในขณะฟื้นฟู
  8. ส่งเสริมให้เกิดการผ่อนคลายในผู้ป่วยเมื่ออยู่ในน้ำ

ข้อควรระวังในการออกกำลังกายในน้ำ

  1. ผู้ที่กลัวน้ำ อาจเป็นข้อจำกัดในการรักษาในน้ำ และอาจไม่ตอบสนองต่อการรักษา เนื่องจากความกลัว อาจส่งผลให้เกิดกล้ามเนื้อเกร็งมากขึ้น อาจต้องอาศัยยเวลาในการทำให้เกิดความเคยชิน รวมถึงการใช้เครื่องพยุงช่วย เพื่อลดอาการกลัว
  2. ผู้ที่มีปัญหาในระบบประสาท โดยเฉพาะผู้ที่ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายได้อย่างรุนแรง เช่น ผู้ที่ไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อได้ตามความต้องการ(Ataxia) หรือผู้ที่ทนความร้อนไม่ได้ 
  3. ผู้ที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ เมื่ออยู่ในน้ำอาจมีการจำกัดการหายใจ เนื่องจากปอดไม่สามารถขยายได้ และมีเลือดจากส่วนปลายไหลสู่ช่องอกเพิ่มขึ้น ทำให้การขยายตัวของปอดถูกจำกัด 
  4. ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการไหลเวียนเลือดหรือหัวใจ เช่น มีปัญหาเจ็บหน้าอก โรคหัวใจ หรือ ความดันโลหิตผิดปกติ ผู้ป่วยเหล่านี้ต้องมีการติดตามภาวะดังกล่าว ในขณะออกกำลังกาย
  5. มีแผลเปิดเล็กน้อย หรือมีสายติดตามร่างกาย ผู้ที่มีแผลเปิดเล็กน้อยหรือเจาะคอ ต้องทำการปิดแผลหรือช่องต่างๆ ให้เรียบร้อยก่อนลงน้ำ ส่วนผู้ที่ใส่สายติดตัว เช่น สายน้ำเกลือ ต้องมีการจัดเก็บสายขณะออกกำลังกาย เพื่อป้องกันน้ำเข้า หรือปนเปื้อน และเป็นอาจอันตรายมากกว่าเกิดประโยชน์ได้

ข้อห้ามของการออกกำลังกาย

  1. ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน และภาวะเจ็บหน้าอกแบบไม่คงที่
  2. ระบบการหายใจล้มเหลว และมีปริมาณความจุปอดขณะหายใจออกเต็มที่น้อยกว่า 1 ลิตร
  3. มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหลอดเลือดส่วนปลายรุนแรง
  4. มีเลือดออก
  5. เป็นโรคไตชนิดรุนแรง
  6. มีแผลเปิด ผ่าตัดช่องท้อง และผิวหนังติดเชื้อ
  7. ไม่สามารถควบคุมระบบขับถ่ายได้
  8. มีประจำเดือน โดยปราศจากเครื่องป้องกัน
  9. มีอาการชักแบบควบคุมไม่ได้ ภายในปีที่ผ่านมา
  10. การออกกำลังกายในน้ำจะส่งผลดีต่อการเสริมสร้างสมรรถภาพของร่างกาย เนื่องจากจะลดการบาดเจ็บจากการกระแทก ได้มากกว่าวิธีอื่นๆ จึงเป็นที่นิยมในการทำกายภาพบำบัด ในผู้สูงอายุ แต่ทั้งนี้การออกกำลังกายในน้ำ ควรได้รับการประเมินและดูแลโดยนักกายภาพบำบัดโดยเฉพาะ เพื่อให้ได้ผลเป็นที่น่าพึงพอใจ และลดความเสี่ยงในการเกิดอันตรายจากการทำธาราบำบัด 


          ทั้งนี้ทางศูนย์ดูแลผู้สูงอายุอยู่สุข เนอร์สซิ่งโฮม มีสระน้ำและอุปกรณ์ พร้อมทั้งนักกายภาพบำบัดวิชาชีพ คอยดูแลการออกกำลังกายในน้ำให้ถูกวิธีและมีประสิทธิภาพ สำหรับท่านที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์ 099-4414690างศูนย์ดูแลผู้สูงอายุอยู่สุข เนอร์สซิ่ง ยินดีให้บริการ

 

 ปรึกษาปัญหาผู้สูงอายุ สอบถามบริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (เบอร์ 099-441-4690086-955-8889) หรือ ติดต่อเรา 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้