โรคไขมันในเลือดสูง

Last updated: 10 ธ.ค. 2562  |  7026 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคไขมันในเลือดสูง

โรคไขมันในเลือดสูง 

          ในปัจจุบันโรคไขมันในเลือดสูงเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ผู้ป่วยจะไม่มีอาการจากไขมันในเลือดสูง แต่อาจมีปัญหาระยะยาวจากการที่ไขมันในเลือดสูงติดต่อกันเป็นเวลานาน ทำให้หลอดเลือดแข็งตัว ตีบตัน ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่ออวัยวะต่างๆของร่างกายได้ เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงกว่าปกติ อาจเป็นระดับคลอเลสเตอรอลสูง หรือระดับไตรกลีเซอร์ไรด์สูงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือสูงทั้งสองชนิด ซึ่งภาวะไขมันในเลือดสูงสามารถทำให้หลอดเลือดแข็ง ตีบ อุดตัน ทำให้เป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ต่ำ โรคตับ เป็นต้น


         ภาวะไขมันในเลือดสูงนั่นเกิดได้จากสาเหตุของ ความผิดปกติทางพันธุกรรม ผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด แต่สาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง หรืออาหารที่มีพลังงานมากเกินความต้องการของร่างกายและการดื่มเครื่องดื่มในปริมาณมากเป็นประจำ รวมถึงการไม่ออกกำลังกาย และอาการแสดงของภาวะไขมันในเลือดสูงส่วนใหญ่จะไม่มีอาการแสดงใดๆ แต่บางกรณีโดยเฉพาะพวกไขมันในเลือดสูงจากพันธุกรรมจะมีอาการดังนี้

  1. ผนังหลอดเลือดแข็ง หัวใจทำงานหนักมากขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆของร่างกายให้เพียงพอ เมื่อเป็นนานๆ จะกลายเป็นความดันโลหิตสูงหัวใจขาดเลือดหรือเป็นอัมพาตได้
  2. มีปื้นเหลืองที่ผิวหนัง เช่น หนังตา ข้อศอก หัวเข่า และฝ่ามือ
  3. เอ็นร้อยหวายหนาตัวผิดปกติ
  4. มีเส้นวงสีขาวเกิดขึ้นระหว่างขอบตากับตาขาว
  5. เกณฑ์ที่ใช้ตัดสินระดับไขมันในเลือดผิดปกติ ได้แก่
  6. ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูงกว่า 200 มก/ดล.
  7. ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูงกว่า 150 มก/ดล
  8. ระดับแอลดีทอล (LDL) ในเลือดสูงกว่า 160 มก/ดล
  9. ระดับเอชดีแอล (HDL) ในเลือดสูงกว่า 50 มก/ดล


การป้องกัน 

  1. จำกัดอาหารและเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม
  2. งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
  3. งดสูบบุหรี่
  4. ควบคุมน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน



การออกกำลังกาย

         ช่วยลดปริมาณไขมันในเลือดและเพิ่มระดับ HDL แต่ต้องเป็นการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ  ทำต่อเนื่องครั้งละ 30-60 นาที อย่างน้อย 5 วัน/สัปดาห์ การออกกำลังกายที่จะช่วยเพิ่มสมรรกภาพปอดและหัวใจได้แก่ การเดิน ปั่นจักรยาน เต้นแอโรบิค รำกระบอง รำมวยจีน เป็นต้น



ผลของการออกกำลังกาย

  1. ลดการเกาะของไขมันในหลอดเลือด
  2. ร่างกายได้ใช้พลังงานจากไขมันที่สะสมในร่างกาย
  3. ไขมันที่สะสมอยู่ตามส่วนต่างๆของร่างกายลดลง
  4. ระดับไขมันไม่ดีลดลง ระดับไขมันดีเพิ่มขึ้น

เมื่อทราบว่าไขมันในเลือดสูง ควรปฏิบัติตัวดังนี้
  1. ควบคุมอาหาร
  2. ถ้าน้ำหนักเกิน ควรลดน้ำหนัก
  3. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ออกำลังกายแบบแอโรบิค เช่น เดินเร็ว วิ่งเหยาะ ว่ายน้ำ กายบริหาร เป็นต้น โดยทำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ครั้งละ 30-60 นาที ในผู้สูงอายุที่มีปัญหาโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนว่าสามารถออกกำลังกายได้มากน้อยเพียงใด และออกกำลังกายชนิดใดจึงจะเหมาะสม
  4. งดสูบบุหรี่ เพราะจะยิ่งทำให้หลอดเลือดอุดตันเพิ่มขึ้น
  5. พยายามไม่อยู่นิ่งเฉย ไม่นั่ง ยืน นอน ตลอด ควรทำกิจกรรมต่างๆสม่ำเสมอ
  6. ลดความเครียด
  7. ถ้าคุมอาหาร ออกกำลังกายและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่างๆแล้ว ยังไม่ได้ผล แพทย์อาจให้รับประทานยาลดไขมัน ซึ่งมีหลายชนิด แพทย์จะพิจารณาจากลักษณะของไขมันที่สูงว่าผู้ป่วยควรรับประทานยาใด
  8. ตรวจเช็คระดับไขมันในเลือดสูงเป็นระยะตามนัด
  9. การควบคุมอาหารในผู้ที่ไขมันในเลือดสูง ควรปฏิบัติอย่างไร
  10. รับประทานอาหารครบส่วนทั้ง 5 หมู่
  11. หลีกเลี่ยงของทอด ผัดที่ใช้น้ำมัน รับประทานเป็นอาหารต้ม นึ่งซึ่งไม่ใช้น้ำมัน
  12. ถ้าใช้น้ำมันควรใช้น้ำมันพืช ที่มีไขมันไม่อิ่มตัวสูง เช่น น้ำมันถั่วเหลือง ดอกทานตะวัน มะกอก ข้าวโพด รำข้าว เมล็ดดอกคำฝอย ส่วนน้ำมันปาล์มและน้ำมันมะพร้าว ควรเลี่ยงเนื่องจากจะทำให้ แอลดีแอลสูงทำให้หลอดเลือดตีบแข็งง่าย
  13. งดอาหารที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อติดมันและหนัง ถ้าจะรับประทานให้เอามันและหนังออกก่อน เครื่องในสัตว์ทุกชนิด ส่วนอาหารที่ควรหลีกลี่ยงหรือรับประทานนานๆครั้งได้แก่ อาหารทะเลพวกกุ้ง ปู ปลาหมึก ไข่แดง ไส้กรอก หมูยอ กุนเชียง เป็นต้น
  14. อาหารที่สามารถรับประทานได้เป็นประจำคือ เนื้อไม่ติดมันไม่ติดหนัง ไข่ขาว ปลา ถั่วและธัญพืชต่าง ๆ
  15. ควรรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำทุกมื้ออาหารเนื่องจากลดการดูดซึมไขมันจากอาหารอื่นเข้าสู่ร่างกาย เพิ่มกากใยในอุจจาระทำให้ท้องไม่ผูก


          ถ้าท่านเป็นโรคไขมันในเลือดสูง เนื่องจากโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคต่อมไทรอยด์ไม่ทำงาน โรคตับ โรคไต หรือโรคพิษสุราเรื้อรัง ท่านควรได้รับการตรวจระดับไขมันในเลือดทุกชนิด ทั้งโคเลสเตอรอลดี โคเลสเตอรอลอันตราย ไตรกลีเซอไรด์ และควรได้รับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้ชำนาญเพื่อตรวจสอบว่าท่านจะมีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแข็งตีบตัน อาจนำไปสู่อัมพฤกษ์ อัมพาต และภาวะการตีบตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้ สำหรับท่านใดที่ต้องการคำแนะนำหรือข้อมูลเพิ่มเติม สามารถมาติดต่อได้ที่ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ อยู่สุข เนอร์สซิ่งโฮม โทร 099-4414690 เรายินดีให้บริการทุกท่าน

 ปรึกษาปัญหาผู้สูงอายุ สอบถามบริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (เบอร์ 099-441-4690086-955-8889) หรือ ติดต่อเรา 




Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้