โรคอัลไซเมอร์

Last updated: 10 ธ.ค. 2562  |  1662 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคอัลไซเมอร์


          ภาวะสมองเสื่อมพบมากในผู้สูงอายุที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป โดยพบว่า 70% ของผู้ป่วยสมองเสื่อมมีสาเหตุมาจากโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งในคนปกติจะมีเซลล์สมองมากถึง 1 แสนล้านเซลล์ ที่เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ตอนเป็นทารกจนถึงอายุ 30 ปี หลังจากนั้นเซลล์สมองจะค่อยๆเสื่อมลง เมื่ออายุประมาณ 60-65 ปีขึ้นไป ซึ่งภาวะสมองเสื่อมจะทำให้ความสามารถของบุคคลลดลง ความจำเสื่อม ไม่สามารถเรียนรู้อะไรใหม่ๆได้ บุคลิกเปลี่ยนหรือมีพฤติกรรมแปลกๆ การเสื่อมของสมองจะค่อยเป็นค่อยไปจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ซึ่งพบมากในผู้สูงอายุ




          โรคอัลไซเมอร์ เกิดจากการตายของเซลล์ในสมองหรือเซลล์ในสมองหยุดทำงาน จึงมีผลทำให้การทำงานของสมองแย่ลงหากสมองเสื่อมตัวมากขึ้นหรือไม่ได้รับการรักษาในช่วง 8-10 ปี จะทำให้การเสื่อมของสมองเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและรุนแรงจนส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้      


สัญญาณเตือนโรคอัลไซเมอร์

  1. จำเหตุการณ์ที่เพิ่งเกิดขึ้นไม่ได้
  2. จำชื่อคนหรือสถานที่ไม่ได้
  3. บวกลบคูณหารเลขง่ายๆไม่ได้
  4. ลืมว่าแปรงฟันหวีผมทำอย่างไร
  5. ลืมชื่อเครื่องใช้ประจำวัน เช่น แว่นตา จาน ช้อน
  6. เดินหลงทางไปจากบ้าน

อาการของโรคอัลไซเมอร์    

  1. ระยะแรก ผู้ป่วยจะมีความจำถดถอยจนตัวเองรู้สึกได้ ชอบถามซ้ำ พูดซ้ำๆ เรื่องเดิม สับสนทิศทาง เริ่มเครียด อารมณ์เสียง่ายและซึมเศร้า แต่ยังสื่อสารและทำกิจวัตรประจำวันได้ ระยะนี้เป็นระยะที่คนรอบข้างยังสามารถดูแลได้ 
  2. ระยะกลาง ผู้ป่วยมีอาการชัดเจนขึ้น ความจำแย่ลงอีก เดินออกจากบ้านไปโดยไม่มีจุดหมาย พฤติกรรมเปลี่ยนไปมาก เช่น จากที่เป็นคนใจเย็นก็กลายเป็นหงุดหงิดฉุนเฉียว ก้าวร้าว พูดจาหยาบคาย หรือจากที่เป็นคนอารมณ์ร้อนก็กลับกลายเป็นเงียบขรึม และเมื่อเวลาผ่านไป ผู้ป่วยจะเริ่มมีปัญหาในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น ชงกาแฟไม่ได้ ใช้รีโมททีวีหรือโทรศัพท์มือถือไม่ได้ คิดอะไรที่ไม่ถูกต้อง ไม่อยู่ในโลกของความจริง เช่น คิดว่าจะมีคนมาฆ่า มาขโมยของ คิดว่าคู่สมรสนอกใจ ซึ่งเหล่านี้ล้วนเป็นอาการที่ยากต่อการดูแลและเข้าสังคม
  3. ระยะท้าย ผู้ป่วยอาการแย่ลง ตอบสนองต่อสิ่งรอบข้างน้อยลง สุขภาพทรุดโทรมลงคล้ายผู้ป่วยติดเตียง รับประทานได้น้อยลง การเคลื่อนไหวน้อยลงหรือไม่เคลื่อนไหวเลย ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ สมองเสื่อมเป็นวงกว้าง ไม่พูดจา ภูมิคุ้มกันอ่อนแอซึ่งมักนำไปสู่การติดเชื้อและเสียชีวิตในที่สุด โดยระยะเวลาทั้งหมดตั้งแต่แรกวินิจฉัยจนเสียชีวิตเฉลี่ยประมาณ 8-10 ปี

การป้องกันภาวะสมองเสื่อม

       การป้องกันสมองเสื่อมควรทำตั้งแต่เนิ่นๆ อย่ารอให้ถึงวัยผู้สูงอายุจึงค่อยทำสามารถทำได้โดย      

  1. การควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกินตั้งแต่วัยหนุ่มสาว
  2. รับประทานอาหารครบหมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวและคลอเลสเตอรอลสูง        
  3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอสัปดาห์ละ 3-5 ครั้ง เช่น วิ่งเหยาะ ปั่นจักรยาน เดิน
  4. การฝึกฝนสมอง ได้แก่ การพยายามฝึกสมองให้คิดบ่อยๆ เช่น เล่นหมากรุก อ่านหนังสือ เขียนหนังสือบ่อยๆ คิดเลข ดูเกมส์ตอบปัญญา ฝึกหัดการใช้อุปกรณ์ใหม่ๆ เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ                       
  5. การพูดคุยพบปะผู้อื่นบ่อยๆ เช่น ไปวัด ไปงานเลี้ยงต่างๆ หรือเข้าชมรมผู้สูงอายุ
  6. พยายามไม่คิดมาก ไม่เครียด หากิจกรรมต่างๆ ทำเพื่อคลายเครียด เนื่องจากความเครียดและอาการซึมเศร้าอาจทำให้จำอะไรได้ไม่ดี
  7. ไม่สูบบุหรี่หรืออยู่ในที่ๆ มีควันบุหรี่
  8. หลีกเลี่ยงยาหรือสารที่ทำให้เกิดอันตรายแก่สมอง เช่น การดื่มเหล้าจัดหรือการรับประทานยาโดยไม่จำเป็น  ดูแลรักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ เป็นต้น                
  9. ตรวจสุขภาพประจำปีหรือถ้ามีโรคประจำตัวแต่เดิมก็ต้องติดตามการรักษาเป็นระยะ เช่น การตรวจหาดูแลรักษาโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ เป็นต้น          
  10. ระมัดระวังเรื่องอุบัติเหตุต่อสมอง ระวังการหกล้ม
  11. พยายามมีสติในสิ่งต่างๆที่กำลังทำและฝึกสมาธิอยู่ตลอดเวลา

การดูแลผู้อายุที่ป่วยเป็นอัลไซเมอร์

  1. ปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับผู้สูงวัย แต่คงสภาพให้คุ้นเคยมากที่สุด
  2. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ (อาหารที่ช่วยบำรุงสมอง เช่น แปะก๊วย น้ำมันปลา และน้ำมันมะพร้าว)  และพักผ่อนให้เพียงพอ
  3. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ตามความเหมาะสมของร่างกาย
  4. จัดกิจวัตรประจำวันให้เป็นเวลาเดิมทุกวัน
  5. พาเข้าสังคมเพื่อพบปะกับญาติหรือเพื่อนง่ายๆ
  6. ฝึกสมองโดยกิจกรรมที่ใช้ความคิดอย่างน้อยวันละ 1 ชั่วโมง


การรักษาโรคอัลไซเมอร์

          ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถให้ยาเพื่อชะลอการดำเนินของโรคได้หรือการทำกิจกรรมบำบัด เพื่อกระตุ้นให้ผู้ป่วยดูแลตนเองให้ได้มากที่สุดโดยเฉพาะในเรื่องการทำกิจวัตรประจำวัน

          การดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิดมีความสำคัญอย่างมากในการรักษาโรคอัลไซเมอร์  แต่ในปัจจบันผู้สูงอายุที่เป็นโรคอัลไซเมอร์จำนวนมากไม่ได้รับการดูแลเท่าที่ควร ซึ่งอาจเป็นเพราะผู้ดูแลบางท่านมีข้อจำกัดจากภาวะหน้าที่การงานทำให้ไม่สามารถดูแลได้อย่างเต็มที่   ทางศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ อยู่สุขเนอร์สซิ่งโฮมจึงขอเสนออีกทางเลือกให้กับทุกท่าน โดยทางเรายินดีให้การดูแลบุคคลที่ท่านรักดุจคนในครอบครัว ภายใต้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมให้ความรู้สึกเหมือนอยู่ที่บ้าน ทั้งยังมีทีมแพทย์ พยาบาล นักกายภาพบำบัดคอยให้การรักษา ให้คำแนะนำ และมีผู้ดูแลตลอดเวลา สำหรับบุคคลที่สนใจหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์ 099-4414690 

 

 ปรึกษาปัญหาผู้สูงอายุ สอบถามบริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (เบอร์ 099-441-4690086-955-8889) หรือ ติดต่อเรา 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้