การออกกำลังในผู้สูงอายุ

Last updated: 10 ธ.ค. 2562  |  9535 จำนวนผู้เข้าชม  | 

การออกกำลังในผู้สูงอายุ

 

การออกกำลังในผู้สูงอายุ

          การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ สามารถลดโรคที่เกิดจากความชรา ชะลอความเสื่อมของร่างกาย ทำให้หัวใจ หลอดเลือด และปอดแข็งแรง รวมถึงช่วยให้การทรงตัวดีขึ้น ทำให้เดินคล่องแคล่ว ลดความเสี่ยงต่อการหกล้ม ทำให้กระดูกแข็งแรง ชะลอโรคกระดูกพรุน การออกกำลังกายแต่ละชนิดมีประโยชน์ต่อสุขภาพแตกต่างกัน ผู้สูงอายุที่ไม่เคยออกกำลังกายและมีโรคประจำตัวควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลก่อนเริ่มออกกำลังกาย

          การออกกำลังกาย เป็นสิ่งจำเป็นต่อผู้สูงอายุ ข้อดีของการออกกำลังกายคือ ลดปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด เพื่อเพิ่มความแข็งแรงให้กล้ามเนื้อและข้อ เพิ่มความสามารถในการทำงาน ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น วิธีการออกกำลังกายให้ได้ผลดีนั้นผู้สูงอายุควรทราบหลักในการออกกำลังกายที่ถูกต้อง ที่เหมาะสมกับตนเอง ข้อควรระวังในการออกกำลังกายและโรคประจำตัวที่เป็นและข้อห้ามในการออกกำลังกาย 


หลักในการออกกำลังกายในผู้สูงอายุ 

         ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานประมาณ 30 – 45 นาที โดยเริ่มต้นจากเวลาน้อยๆก่อน แล้วค่อยๆเพิ่มเวลาขึ้นเรื่อยๆ การออกกำลังกายอาจเป็นการเคลื่อนไหวร่างกายทุกรูปแบบ เช่น เดิน วิ่งเหยาะๆ ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ โยคะ เต้นแอโรบิค เป็นต้น ควรเลือกการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับตนเอง ไม่ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย และมีความสนุกต่อการออกกำลังกายชนิดนั้น การออกกำลังกายที่ถูกต้องควรเริ่มจากการอบอุ่นร่างกาย เป็นการกระตุ้นความพร้อมก่อนการออกกำลังกายจริง โดยใช้เวลาประมาณ 5 – 10 นาที การอบอุ่นร่างกายควรทำโดยเคลื่อนไหวร่างกายแบบเบาๆ เช่น การเดินช้าๆ หรือการยืดกล้ามเนื้อต่างๆ เพื่อลดการบาดเจ็บขณะออกกำลังกาย


การออกกำลังกายของผู้สูงอายุ จะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท 

  1. การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพปอดและหัวใจ ควรทำต่อเนื่องกัน 30 – 45 นาที เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน การวิ่ง การว่ายน้ำ เต้นแอโรบิค เป็นต้น


  2. การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นและการผ่อนคลาย จุดมุ่งหมายเพื่อยืดกล้ามเนื้อและข้อต่อต่างๆ เพื่อความยืดหยุ่นคล่องตัว ส่งผลต่อการเคลื่อนไหว ช่วยในการทรงตัว เช่น การบริหารร่างกายแบบยืดเหยียด หรือการรำมวยจีน 


  3. การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความทนทานของกล้ามเนื้อ เช่น การใช้ท่าบริหาร เน้นการเคลื่อนไหวของข้อต่อเป็นหลักการออกกำลังกายโดยใช้อุปกรณ์ช่วย และการออกกำลังกายโดยการต้านแรง 



ข้อควรระวังในการออกกำลังกาย

  1. ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ใช้แรงมากหรือกิจกรรมที่ไม่คุ้นเคย
  2. ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายในช่วงอากาศร้อนจัด
  3. ผู้สูงอายุที่มีปัญหาข้อเข่า ข้อเท้า หรือสะโพก ควรหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ลงน้ำหนัก เช่น วิ่ง เต้นแอโรบิค
  4. ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น แน่นหน้าอก หายใจไม่ออก อ่อนเพลียผิดปกติ หรือเกิดอาการอื่นที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ควรหยุดการออกกำลังกายและไปพบแพทย์ทันที


โรคที่ห้ามออกกำลังกาย

  1. กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน
  2. หลอดเลือดดำอักเสบและอุดตัน
  3. โรคตับระยะรุนแรง
  4. มีการบาดเจ็บของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในระยะเฉียบพลัน
  5. ผู้ป่วยเบาหวานที่มีภาวะน้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำกว่าเกณฑ์


          การออกกำลังกายของผู้สูงอายุ ช่วยชะลอความเสื่อมของระบบต่าง ๆ ทั้งยังช่วยเพิ่มความแข็งแรงทนทานให้กับกล้ามเนื้อ ควบคุมการทำงานของระบบต่าง ๆ ให้มีความสมดุล ในบางครั้งยังช่วยให้ผู้สูงอายุได้เข้าสังคม กรณีออกกำลังกายนอกบ้าน ก็เป็นผลดีต่อสภาพจิตใจโดยตรง ทางศูนย์ อยู่สุข เนอร์สซิ่งโฮม มีการจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อส่งเสริมการออกกำลังกาย ให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรงและสมบูรณ์มากที่สุด โดยเน้นการทำกิจกรรมที่ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม ให้ผู้สูงอายุได้พบปะพูดคุยกับเพื่อนๆในวัยใกล้เคียงกัน ส่งผลให้ผู้สูงอายุคลายเครียด ผ่อนคลาย ไม่เหงา และมีสุขภาพที่ดี สำหรับท่านใดที่ต้องการคำแนะนำหรือข้อมูลเพิ่มเติม สามารถมาติดต่อได้ที่ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุุ อยู่สุข เนอร์สซิ่งโฮม โทร 099-4414690 เรายินดีให้บริการทุกท่าน

 ปรึกษาปัญหาผู้สูงอายุ สอบถามบริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (เบอร์ 099-441-4690086-955-8889) หรือ ติดต่อเรา 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้