โรคเส้นเลือดในสมองตีบ

Last updated: 10 ธ.ค. 2562  |  6970 จำนวนผู้เข้าชม  | 

โรคเส้นเลือดในสมองตีบ

โรคเส้นเลือดในสมองตีบ





          โรคหลอดเลือดสมองเป็นสาเหตุการตายอันดับ 2 ในคนอายุมากกว่า 60 ปี  ในปัจจุบันอัมพฤกษ์ อัมพาต เกิดจากโรคหลอดเลือดสมองเป็นอาการที่คนทั่วไปโดยเฉพาะผู้สูงอายุจะกลัวกันมาก เมื่อมีอาการแขนขาอ่อนแรงซีกใดซีกหนึ่งของร่างกายแล้วมักจะไม่ค่อยหาย หรือหายแต่ไม่หายสนิท ต้องใช้เวลาฟื้นฟูสมรรถภาพค่อนข้างนาน มีความพิการหลงเหลืออยู่บ้าง ไม่มากก็น้อย สาเหตุของอาการมีได้หลายอย่าง แต่ที่พบบ่อยที่สุด คือ โรคหลอดเลือดสมองตีบ อุดตัน หรือแตก ส่งผลให้ออกซิเจนไปเลี้ยงสมองไม่พอ จนทำให้สมองขาดเลือด และทันทีที่สมองขาดเลือด เซลล์สมองต่างๆ จะค่อยๆถูกทำลาย ส่งผลให้สมองสูญเสียหน้าที่จนเกิดเป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต หรือเสียชีวิตได้


เส้นเลือดในสมองตีบ

          เมื่อสมองขาดเลือดจะทำให้สมองไม่สามารถทำงานได้ตามปกติโดยจะแสดงอาการต่างๆ เช่น ปวดหัว เวียนหัว มึนงง บ้านหมุน ทรงตัวลำบาก แขนขาอ่อนแรงและมือเท้าชา อาจเป็นสัญญาณอันตรายเสี่ยงต่อการเสียชีวิตและเป็นอัมพาต


อาการของโรคเส้นเลือดในสมองตีบ
  1.  อาการแขนขาอ่อนแรง เดินเซ สูญเสียการทรงตัว
  2.  ปากเบี้ยว พูดไม่ชัด พูดไม่ออก ใบหน้าซีกใดซีกหนึ่งอ่อนแรง
  3.  การมองเห็นมีปัญหา มองเห็นภาพซ้อน หรือมองเห็นภาพครึ่งเดียว 
  4.  สับสน หรือปวดศีรษะอย่างรุนแรงแบบไม่เคยเป็นมาก่อน

ภาวะแทรกซ้อนหลอดเลือดสมอง

สูญเสียความทรงจำ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์และการตัดสินใจลดลง
ปัญหาด้านอารมณ์ เนื่องจากผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอารมณ์ได้ และอาจก่อให้เกิดภาวะซึมเศร้า
กลืนอาหารลำบาก อาจทำให้เกิดการสำลักและเกิดปอดอักเสบหรือติดเชื้อในปอดได้
มีปัญหาในการควบคุมการปัสสาวะ และเสี่ยงต่อการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ
ภาวะเลือดออกในทางเดินอาหารและเลือดออกในกะโหลกศีรษะ ซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการทานยาละลายลิ่มเลือด

ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมองตีบ

ปัจจัยเสี่ยงป้องกันได้

  1. โรคความดันโลหิตสูง 
  2. คอเลสเตอรอลในเลือดสูง 
  3. โรคเบาหวาน
  4. โรคอ้วน
  5. สูบบุหรี่,ดื่มสุรา
  6. ความเครียด 
  7. ผู้ป่วยโรคหัวใจที่มีระบบไหลเวียนเลือดผิดปกติ ทำให้ลิ่มเลือดไปอุดตันที่สมอง 
  8. ผู้ที่ต้องนั่งรถหรือเครื่องบินเป็นเวลานานๆ ทำให้เลือดไหลเวียนไม่สะดวก

ปัจจัยเสี่ยงป้องกันไม่ได้

  1. อายุ ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี มีอัตราเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง
  2. เพศ พบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง
  3. พันธุกรรม การที่คนในครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหลอดเลือดสมองจะมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป

          อายุที่มากขึ้นทำให้หลอดเลือดเสื่อมสภาพลงไปด้วยผิวชั้นในของผนังหลอดเลือดด้านในอาจจะหนาหรือแข็งขึ้นจากการที่มีไขมันหรือหินปูนมาเกาะทำให้เส้นเลือดแคบลงส่งผลให้เลือดไหลเวียนได้น้อยลง

          เพศชาย มีความเสี่ยงต่อโรคเส้นเลือดตีบมากกว่าเพศหญิง เนื่องจากพบการแข็งตัวของเลือดกว่าปกติ ทำให้มีความเสี่ยงของการที่เม็ดเลือดจับตัวกันหรือเกิดลิ่มเลือดได้ง่ายกว่าคนทั่วไป


สัญญาณอันตราย เส้นเลือดในสมองตีบ

  1. มีอาการชา หรืออ่อนแรงที่ใบหน้า และ/หรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย
  2. พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว ขยับปากได้ไม่ปกติ น้ำลายไหล กลืนลำบาก
  3. ปวด หรือเวียนศีรษะเฉียบพลัน
  4. ตาพร่ามัว มองเห็นภาพซ้อน หรือเห็นเพียงครึ่งซีก หรืออาจจะตาบอดข้างเดียวเฉียบพลัน
  5. เดินเซ ทรงตัวลำบาก
  6. อาการเหล่านี้อาจเกิดเพียงชั่วคราวแล้วหายไป อาจจะเกิดขึ้นหลายครั้งเป็นๆหายๆ หรืออาจจะมีอาการตอนที่หลอดเลือดอุดตันจนมีเลือดไปหล่อเลี้ยงสมองไม่เพียงพอกะทันหัน จนทำให้สมองขาดเลือดถาวร ดังนั้นหากมีสัญญาณตามอาการดังกล่าวแม้เพียงครั้งเดียว ก็ควรพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียดโดยทันที เพราะหากไม่ถึงชีวิต ก็อาจมีความเสี่ยงเป็นอัมพฤต อัมพาตได้เช่นกัน

วิธีป้องกันโรคเส้นเลือดในสมองตีบ

  1. ตรวจสุขภาพประจำปีเพื่อค้นหาปัจจัยเสี่ยง ถ้าพบต้องรีบรักษาและพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ
  2. ควบคุมระดับความดันโลหิต ปริมาณไขมัน และน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติตลอดเวลา
  3. ควบคุมอาหาร โดยลดอาหารรสเค็ม หวาน และมัน
  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อย 5 วัน/สัปดาห์ และอย่างน้อย 30 นาที/ครั้ง
  5. งดการสูบบุหรี่ และดื่มแอลกอฮอล์
  6. หากมีอาการตามที่กล่าวเอาไว้ใน “สัญญาณอันตราย เส้นเลือดในสมองตีบ” ควรรีบพบแพทย์ทันที



แนวทางการรักษาโรคหลอดเลือดในสมองตีบ

          แพทย์อาจทำการสั่งยาสลายลิ่มเลือดให้ทาน เพื่อช่วยให้เลือดไหลเวียนได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้น วิธีนี้จะได้ผลดีกับผู้ป่วยที่มีอาการแล้วรีบมาพบแพทย์ภายในเวลาไม่กี่ชั่วโมง (ไม่เกิน3ชั่วโมง) แต่หากถึงขั้นเส้นเลือดในสมองปริหรือแตกจนเลือดออก แพทย์อาจพิจารณาการผ่าตัด เพื่อป้องกันความเสียหายต่อสมองที่อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของความดันโลหิต


การรักษาและปฏิบัติตัว

  1. ดูแลรักษาสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอถูกต้องตามคำแนะนำของแพทย์
  2. ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  3. หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง
  4. พยายามควบคุมความดันโลหิตให้เป็นปกติ

การออกกำลังกาย

        ควรออกกำลังกายทุกวัน หรือจะออกกำลังกายแบบแอโรบิคสามารถลดความเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองในทุกด้านได้ การออกกำลังกายนอกจากสามารถปรับปรุงสุขภาพโดยรวมของคนที่เป็นโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดแล้ว ยังสามารถช่วยเรื่องการลดน้ำหนัก ควบคุมโรคเบาหวานและลดความเครียดได้อีกด้วย  ซึ่งหากได้รับการดูแลรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็วตั้งแต่แรก จะสามารถลดอัตราการตายและพิการลงได้มากหรือสามารถกลับมาใช้ชีวิตแบบคนปกติได้ หากต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อได้ที่เบอร์ 099-4414690 ทางศูนย์อยู่สุขเนอสซิ่งโฮม ยินดีให้บริการ

 ปรึกษาปัญหาผู้สูงอายุ สอบถามบริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (เบอร์ 099-441-4690086-955-8889) หรือ ติดต่อเรา 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้