ใกล้ชิดผู้สูงอายุ ห่วงใย ใส่ใจ ปลอดภัยจากภาวะซึมเศร้า

Last updated: 6 ธ.ค. 2562  |  2943 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ใกล้ชิดผู้สูงอายุ ห่วงใย ใส่ใจ ปลอดภัยจากภาวะซึมเศร้า

เคยสังเกตไหมว่า ผู้สูงอายุในบ้าน มีอาการที่เปลี่ยนไป ไม่ร่าเริงแจ่มใสเหมือนเดิม ทานหาหารได้น้อยลง พูดคุยน้อยลง หงุดหงิดง่าย นอนหลับยาก อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย ไร้พลัง ไปจนถึงการรู้สึกว่าตัวเองไร้ค่า หากคุณกำลังพบอาการแบบนี้ในผู้สูงอายุ ให้เฝ้าระวังอย่างดี เพราะนี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของ “ภาวะโรคซึมเศร้าในผู้สูงอายุ”

          จากการศึกษาพบว่า ผู้สูงวัย ที่มีช่วงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงในการเกิดภาวะโรคซึมเศร้า โดยเฉพาะผู้หญิง และมีอัตราฆ่าตัวตายสำเร็จกว่าวัยอื่นๆมาแล้วด้วย ทำให้ลูกหลาน ญาติพี่น้อง ที่มีคนแก่ พ่อแม่ที่ย่างเข้า 60 ปีขึ้นไป ควรหันมาใส่ใจ ดูแลท่านอย่างใกล้ชิดมากขึ้น เพราะบางที การปล่อยให้ท่านอยู่คนเดียวบ่อย ไม่ค่อยมีกิจกรรมร่วมกัน ไม่ค่อยคุยกับท่าน มันกลับทำให้เกิดความรู้สึกเหงาภายในจิตใจ โดยที่เราอาจไม่รู้ตัว และนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นวัยที่แก้ยาก

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าในผู้สูงอายุ

1. ผลจากร่างกาย ภาวะซึมเศร้า อาจเกิดจากโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง บางผู้ป่วย เกิดจากโรคภัยแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในร่างกาย และรักษามาเป็นเวลานาน จนเกิดภาวะเบื่อโรค จนไปถึงการ “เบื่อโลก” ตรงนี้อันตรายอย่างมาก ยิ่งผู้ป่วยที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือด ความดัน หรือโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือสมอง โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็ง ร่างกายทุพพลภาพ พิการ ยิ่งจะกระตุ้นให้มีภาวะซึมเศร้าได้มากขึ้น

2. ผลจากจิตใจ ภาวะซึมเศร้า ที่เกี่ยวข้องกับสังคม และ สภาพแวดล้อมที่พบเจอ ซึ่งมีเรื่องมากระทบกระเทือนจิตใจ เริ่มตั้งแต่เศร้าเล็กน้อย ไปจนถึง รุนแรงมาก เช่น การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก คู่ชีวิต หรือ บุคคลในครอบครัว การต้องเผชิญหน้ากับการอยู่คนเดียวบ่อยๆ ไม่มีเพื่อนคุย ไม่มีสังคม ลูกหลานไม่สนใจ ไม่สามารถปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงใดๆได้ ภาวะเหล่านี้ ทำให้เกิดโรคซึมเศร้าได้ง่าย และทำให้สุขภาพย่ำแย่ เบื่อหน่ายชีวิต จนคิดหาทางออกที่ไม่มีใครอยากให้เกิด

ดูแลรักษาอย่างไรให้ดีขึ้น

-  เมื่อสังเกตว่ามีอาการโรคซึมเศร้า ควรรีบปรึกษาแพทย์ทางจิตเวชด่วน โรคนี้สามารถหายได้ รักษาด้วยยาต้านเศร้าอย่างน้อย 6-9 เดือน หรือ ทำจิตบำบัดทางกิจกรรมต่างๆ

-  ควรพาไปทำกิจกรรมที่ผู้สูงอายุเคยชอบทำและมีความสุข

-  คนรอบข้างต้องปรับตัว พยายามเข้าใจผู้สูงอายุ และดูแลเอาใจใส่อย่างใกล้ชิด

-  พุดคุยกับผู้ป่วยบ่อยๆ รับฟังปัญหาให้มากขึ้น อย่าใช้อารมณ์หงุดหงิดฉุนเฉียวร่วม

-  ไม่ทิ้งผู้ป่วยไว้ตามลำพัง ควรมีผู้ดูแลเสมอ

-  ควรเก็บของมีคม อาวุธ หรือ ยาอันตราย ไว้ไกลมือผู้ป่วย ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย

-  หากิจกรรมที่ทำให้ผ่อนคลาย เพื่อให้นอนหลับได้ง่าย เช่น ฟังเพลง นั่งสมาธิ ฯลฯ

-  ให้ผู้ป่วยได้รับอาหารที่เพียงพอ ย่อยง่าย และไม่กระทบกับโรคประจำตัว

แก้ไม่ได้ มาที่ Nursing Home ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ

      หากพยายามแล้วทุกทาง ยังไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยยังมีอาการซึมเศร้าอยู่ ลองปรับเปลี่ยนวิธี ส่งมาให้ Nursing Home หรือ ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ช่วยฟื้นฟูรักษา เพราะที่นี่ มีแพทย์และพยาบาลวิชาชีพ ที่เชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยสูงอายุ สารพัดโรค รวมถึงการบำบัดจิตใจให้กับผู้สูงอายุที่อยู่ในภาวะโรคซึมเศร้าด้วย โดยทางศูนย์ฯ จะมีกิจกรรมบำบัดทางกายภาพ และมีกิจกรรมบำบัดจิตใจ ที่รวมผู้สูงอายุให้มาทำกิจกรรมเข้าสังคมร่วมกัน รับฟังและพูดคุยกันมากขึ้น ดูแลใกล้ชิดเหมือนลูกหลาน แต่มีระบบมาตรฐานเทียบโรงพยาบาล เพื่อให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วที่สุด จากบริการครบทุกด้าน เพื่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะ

     ….บำบัดไว ได้ผลจริง ผู้สูงอายุกลับมาแจ่มใส และเห็นคุณค่าในชีวิตมากขึ้น ลองมาที่ Nursing Home

 

 ปรึกษาปัญหาผู้สูงอายุ สอบถามบริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (เบอร์ 099-441-4690086-955-8889) หรือ ติดต่อเรา 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้