กายภาพบำบัดในผู้ป่วย “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท”
อาการปวดหลังร้าวลงขา ไม่ใช่เรื่องเล็ก… บุคคลวัยทำงานจำนวนไม่น้อยที่ประสบกับปัญหาปวดหลังเรื้อรัง รักษาไม่หายขาด และยังเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จนรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน บางคนต้องพักงานหรือเปลี่ยนงานเพราะอาการปวดหลัง เนื่องจากในรายที่มีอาการรุนแรงแล้ว จะมีวิธีเดียวที่สามารถรักษาได้คือ การผ่าตัด ซึ่งต้องใช้ค่าใช้จ่ายมากและเวลาในการพักฟื้นนาน เพราะฉะนั้นการรักษาตั้งแต่อาการยังน้อยๆจึงเป็นเรื่องที่ควรทำ วิธีการสังเกตอาการว่าเป็นโรคนี้หรือไม่ คือ - อาการปวดหลัง อาจมีร้าวลงขาหรือไม่มีก็ได้
- ขาอ่อนแรง อาจเป็นข้างเดียว หรือ 2 ข้าง
- มีอาการปวดมากขึ้นเมื่อไอ จาม เบ่ง ถ่าย และก้มหลัง
- มีอาการปวดลดลงเมื่อแอ่นหลัง
หากท่านมีอาการดังที่กล่าวมา ควรรีบปรึกษานักกายภาพบำบัด เพราะมีความเป็นไปได้สูงมากที่ท่านจะเป็นโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท การรักษาทางกายภาพบำบัด1. การขยับข้อต่อ (Mobilization)2. การออกกำลังกายเฉพาสำหรับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท (Mckenzie exercise)3. การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด (PT Modalities) ได้แก่ Ultrasound, TENS, Traction เป็นต้น4. การใช้อุปกรณ์พยุงหลัง (Back support)5. การปรับท่าทางในการทำงานและสถานีงาน (Posture and Work station) /การยศาสตร์ (Ergonomic) ข้อดีของการรักษาทางกายภาพบำบัด- ป้องกันการเกิดปัญหาปวดหลังเรื้อรัง
- ไม่มีผลข้างเคียง หรือภาวะแทรกซ้อนจากการรักษา
- หากรักษาต่อเนื่อง และปฏิบัติตนตามคำแนะนำอย่างเหมาะสม สามารถหายขาดได้โดยไม่ต้องรับ
การผ่าตัด - ช่วยป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
- ไม่ต้องพักหรือลางานเพื่อไปทำการรักษา
- ช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับการรักษา หรือเดินทางไปรับการรักษา
คำแนะนำจากเรา ผู้ป่วยโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ไม่ควรนั่งเป็นเวลานาน โดยเฉพาะไม่คนนั่งหลังงอ เนื่องจากจะไปเพิ่มแรงกดต่อหมอนรองกระดูกสันหลังทำให้มีการกดทับเส้นประสาทมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้อาการแย่ลง ดังนั้นสำหรับท่านที่มีอาการปวดหลังมากและต้องเดินทางไปรับการรักษาไกลๆ เราขอเสนออีกหนึ่งทางเลือกให้กับท่าน ซึ่งก็คือบริการกายภาพบำบัดที่บ้าน ศูนย์ของเรามีบริการกายภาพบำบัดทั่วกรุงเทพฯ โดยนักกายภาพบำบัดวิชาชีพ หากท่านใดสนใจ หรือต้องการคำปรึกษาสามารถติดต่อเราได้ทันทีที่ เบอร์ 099-4414690 หรือ 086-9558889