การช่วยฟื้นคืนชีพ ( Cardio Pulmonary Resuscitation: CPR)
การอยู่ในภาวะฉุกเฉินร้ายแรงหรือเสี่ยงต่อชีวิตเป็นสิ่งที่ไม่ว่าใครก็ต่างไม่อยากให้เกิดขึ้น ทั้งกับตนเอง หรือกับผู้คนรอบข้าง แต่ก็ยากจะหลีกหนี ซึ่งมักเกิดได้จากภาวะของโรค อุบัติเหตุ หรือเหตุไม่คาดฝันต่างๆ ดังนั้นเราจึงต้องรับมือให้ดีที่สุด เพื่อลดความรุนแรงของผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น โดยความเร็วในการช่วยชีวิตเป็นสิ่งสำคัญมาก หากช้าไปเพียงไม่กี่นาทีอาจถึงแก่ชีวิตได้ เฉพาะฉะนั้นเราทุกคนควรเรียนรู้ขั้นตอนการฟื้นคืนชีพ หรือ CPR ให้ได้อย่างแม่นยำเพื่อใช้ในกรณีฉุกเฉิน
CPR เป็นวิธีการช่วยเหลือในภาวะฉุกเฉินร้ายแรง เพื่อทำให้ระบบ ไหลเวียนเลือดในร่างกายของผู้ป่วยกลับมาเป็นปกติ โดยการนำออกซิเจนเข้าร่างกาย และทำให้หัวใจเต้น สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงสมอง สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยกลุ่มโรคหัวใจที่หมดสติเฉียบพลัน หยุดการหายใจจาการจมน้ำ ถูกไฟฟ้าช็อต ขาดอากาศหายใจได้ด้วย
ลักษณะของผู้ป่วยที่ต้องทำการฟื้นคืนชีพ
- หมดสติ ไม่รู้สึกตัว
- ไม่หายใจ หรือหายใจเฮือก
ขั้นตอนการทำ CPR1. ตรวจดูว่าผู้ป่วยรู้สึกตัวหรือไม่ โดยการใช้มือทั้ง 2 ข้างตบบริเวณบ่าให้แรงพอสมควรพร้อมเรียกผู้ป่วยดังๆ2. หากผู้ป่วย ไม่ตอบสนองให้เรียกขอความช่วยเหลือ สายด่วนสำหรับขอความช่วยเหลือ โทร 16693. จัดท่าให้ผู้ป่วยนอนหงายราบกับพื้นแข็งและตรวจดูในปากว่ามีสิ่งแปลกปลอมอยู่หรือไม่ ถ้ามีให้นำออก4. เปิดทางเดินหายใจโดยดันหน้าผากและยกคางให้ใบหน้าหงายขึ้น5. ตรวจว่าผู้ป่วยหายใจหรือไม่โดยการฟัง ก้มลงให้หูอยู่ใกล้ปากและจมูกของผู้ป่วย ฟังเสียงลมหายใจตามองดูหน้าอกว่าขยับขึ้นลงหรือไม่6. ถ้าผู้ป่วยหายใจดีและไม่มีการเจ็บของกระดูกคอและกระดูกสันหลัง ให้จัดท่านอนตะแคงกึ่งคว่ำ ให้จับแขนด้านไกลตัว ข้ามหน้าอกมาวางมือไว้ที่แก้มอีกข้างหนึ่งแล้วดึงตัวให้พลิกตัว7. ถ้าผู้ป่วยไม่หายใจช่วยหายใจด้วยวิธีเป่าปาก โดยประกบปากผู้ป่วยเป่าลมเข้าปากผู้ป่วยช้า ๆ สม่ำเสมอ10-12 ครั้ง ใน 1 นาที อย่าเป่าติดกันโดยไม่รอให้ผู้ป่วยหายใจไม่ออก (ปัจจุบัน เป่าปาก 2 ครั้ง นวดหน้าอก : 30 ครั้ง : จำนวน 5 รอบ) ข้อควรระวัง คือ ต้องมั่นใจว่าในปากผู้ช่วยเหลือและผู้ป่วยไม่มีแผล ไม่เป่าลมมากจนเกินไปเพราะจะทำให้เกิดการอาเจียน ซึ่งอาจมีเศษอาหารติดทางเดินหายใจ8. ตรวจชีพจร ให้ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางลงบนลูกกระเดือกของผู้ป่วย วางแล้วเลื่อนมือลงมาด้านข้างระหว่างช่องลูกกระเดือกกับกล้ามเนื้อคอ หลายๆคนอาจคิดว่า 8 ขั้นตอนนี้สามารถทำได้ง่ายๆ แต่ในความเป็นจริงแล้วหากพบสภาวะฉุกเฉินเรามักจะตื่นตกใจจนทำอะไรไม่ถูก ดังนั้นทางเดียวที่จะสามารถทำได้คือต้องหมั่นฝึกซ้อมและทบทวนขั้นตอนให้ได้อย่างแม่นยำ และท่องไว้เสมอว่าทุกขั้นตอนมีความสำคัญ หากมีข้อสงสัยหรือต้องการสอบถามเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้ที่ อยู่สุข เนอร์สซิ่งโฮม โทร 0994414690 , 0869558889
ปรึกษาปัญหา สอบถามบริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (เบอร์ 099-441-4690, 086-955-8889) หรือ ติดต่อเรา