ข้อเข่าเสื่อมกับการกายภาพบำบัด

Last updated: 12 ธ.ค. 2562  |  10266 จำนวนผู้เข้าชม  | 

ข้อเข่าเสื่อมกับการกายภาพบำบัด

ข้อเข่าเสื่อมกับการกายภาพบำบัด

          ข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis of the Knee : OA Knee) เป็นภาวะที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ หรือในคนที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย ซึ่งข้อเข่าเสื่อมเป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมของกระดูกอ่อนบริเวณผิวข้อ โดยความเสื่อมที่เกิดขึ้นแล้วไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมได้ แต่จะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ หากยังมีพฤติกรรม หรือการใช้งานข้อเข่าเช่นเดิมโดยไม่ได้รับการรักษา



 

ปัญหาที่พบในผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อม

  • มีอาการปวด ข้อฝืดมากในตอนเช้าหลังตื่นนอน (ไม่เกิน 30 นาที)
  • มีการจำกัดการเคลื่อนไหวของเข่า งอและเหยียดเข่าได้ไม่สุด
  • กล้ามเนื้อขาอ่อนแรง
  • ความมั่นคงของข้อเข่าลดลง มีเสียงดังกรอบแกรบในข้อเข่า
  • ความสามารถในการทรงตัวลดลง
  • ความสามารถในการทำกิจวัตรประจำวันลดลง เช่น การลุกยืน การเดิน การขึ้น-ลงบันได
  • ข่อเข่าผิดรูป หรือขาโก่ง (bow legs)




        “ จากงานวิจัย พบว่าวิธีการรักษาข้อเข่าเสื่อมที่ดีที่สุด คือ การทำกายภาพบำบัด โดยเฉพาะในระยะแรก และระยะกลาง ซึ่งการทำกายภาพบำบัดในผู้ป่วยโรคนี้ นอกจากจะช่วยชะลอ หรือป้องกันไม่ให้ข้อเสื่อมมากขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้โดยไม่มีอาการปวด ” 



การรักษาทางกายภาพบำบัด ประกอบด้วย

1. ออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strengthening exercise)

การเพิ่มความแข็งแรงกล้ามเนื้อ จะช่วยรับน้ำหนักและลดแรงกระแทกต่อข้อเข่าทำให้อาการปวดลดลง ลดการผิดรูปของขา

กล้ามเนื้อที่ควรเพิ่มความแข็งแรง ได้แก่

- Quadriceps

        

 


- Hip abductors



 

- Hamstring




2. การออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ (Stretching exercise)

ช่วยลดการยึดติดของข้อ และป้องกันการบาดเจ็บจากออกออกกำลังกายอื่น ๆ

 



3. การลดน้ำหนัก ด้วยการออกกำลังกายแบบแอโรบิค และการคุมอาหาร

        การออกกำลังกายที่แนะนำคือ การว่ายน้ำ หรือออกกำลังกายในน้ำ เพราะมีแรงพยุงทำให้น้ำหนักตัวลงที่ข้อเข่าน้อย เหมาะกับผู้ที่ปวดเข่าและมีน้ำหนักตัวมาก ส่วนในกรณีที่ไม่สะดวกว่ายน้ำ จะแนะนำเป็นการปั่นจักรยานเนื่องจากเป็นการออกกำลังกายที่ไม่มีแรงกระแทกต่อเข่า

        การออกกำลังกาย นอกจากจะช่วยลดน้ำหนักแล้ว ยังช่วยในเรื่องสุขภาพโดยรวม เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของปอดและหัวใจ ลดภาวะมวลกระดูกบาง อีกทั้งยังช่วยให้กระบวนการฟื้นฟูซ่อมแซมการบาดเจ็บต่าง ๆ ของร่างกายรวดเร็วยิ่งขึ้น



 

 

4. การใช้เครื่องมือทางกายภาพบำบัด

- Hot Pack เป็นความร้อนตื้นช่วยเพิ่มการ

ไหลเวียนโลหิต ลดความตึงตัวของกล้ามเนื้อ

- Ultrasound เป็นการให้ความร้อนลึก ช่วยเร่งกระบวนการซ่อมแซม, ลดความตึงของกล้ามเนื้อและเพิ่มการไหลเวียนโลหิต       

- TENS ใช้ลดอาการปวดเข่า ให้ผู้ป่วยที่มีอาการปวดมาก



5. การขยับข้อต่อ (Mobilization)

        เพื่อลดอาการยึดติดของข้อ เพิ่มช่วงการเคลื่อนไหว และลดอาการปวด



6. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

- การนั่ง : หลีกเลี่ยงการนั่งยอง นั่งพับเพียบ นั่งขัดสมาธิ หรือคุกเข่า แล้วเปลี่ยนมานั่งบนเก้าอี้ที่ไม่เตี้ยจนเกินไป(เก้าอี้ควรมีความสูงอย่างน้อยเท่ากับระดับหัวเข่า) รวมถึง ไม่ควรนั่งนาน ควรมีการเหยียดขาออกบ้าง

- การยืน : หลีกเลี่ยงการยืนพักขา การยืนล้อคเข่า หรือการงอเข่าข้างใดข้างหนึ่ง แล้วทิ้งน้ำหนักมาขาอีกข้าง

- หลีกเลี่ยงการอยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนาน ๆ เนื่องจากจะทำให้เลือดมาเลี้ยงบริเวณกระดูกอ่อนลดลง

- หลีกเลี่ยงการขึ้นลงบันได หรือทางชันต่าง ๆ หากจำเป็น ให้มีการใช้ไม้เท้า หรือเกาะราวบันได เพื่อช่วยในการรับน้ำหนัก ลดการกดที่เข่า



          อย่างไรก็ตาม การรักษาทางกายภาพบำบัดจะมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม กับอาการของแต่ละบุคคล รวมถึงภาวะทางสุขภาพ ซึ่งอาจเป็นข้อจำกัดในการรักษาบางอย่าง ทำให้การตรวจประเมินก่อนการรักษามีความสำคัญมาก ดังนั้นหากมีอาการข้อเข่าเสื่อม ผู้ป่วยควรปรึกษานักกายภาพบำบัด ก่อนที่จะทำการออกกำลังกายด้วยตนเอง

 
“อยู่สุข ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ และคลินิกกายภาพบำบัด"

        เรามีบริการกายภาพบำบัดที่บ้าน กายภาพบำบัดที่ศูนย์ และการออกกำลังกายในน้ำ(ธาราบำบัด)

ท่านใดต้องการปรึกษาปัญหา หรือติดต่อสอบถามบริการกายภาพบำบัด ติดต่อ 099-4414690 หรือ 086-9558889 เรายินดีให้คำปรึกษา พร้อมตรวจประเมินร่างกายฟรี!!  

 ปรึกษาปัญหา สอบถามบริการ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย (เบอร์ 099-441-4690086-955-8889) หรือ ติดต่อเรา 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้